วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

หัวข้อ ผลการประเมิน blog

หัวข้อ ผลการประเมิน blog
-เนื้อหาเกี่ยวกับ
ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ มีผลงานอะไรบ้าง อาชีพนักวิทยาศาสตร์ เป็นอาชีพที่ท้าทายความสามารถ เป็นอาชีพที่เห็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าทำให้มีคุณค่า เป็นอาชีพที่เห็นสิ่งที่มีประโยชน์น้อยทำให้มีประโยชน์มาก เป็นอาชีพที่สร้างสรรค์ทรัพยากรให้มีคุณค่า เป็นอาชีพที่คนทั่วไปมองไม่เห็นแต่นักวิทยาสาสตร์มองเห็นหรืออาจจะเห็นก่อนใคร เป็นอาชีพที่มองเห็นจุดของแสงสว่างก่อนใครในท่ามกลางแห่งความมืด เป็นอาชีพที่มีความอิสระเชิงความคิด -วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่สมาชิก และผู้สนใจในวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย
2. เพื่อส่งเสริมการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ผู้ที่สนใจ
4. เพื่อส่งเสริม และดำเนินการค้นคว้า ปรับปรุง และประดิษฐ์อุปกรณ์ เกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
5. เพื่อส่งเสริม และดำเนินการค้นคว้า ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน แบบฝึกหัด
-เนื้อหาเป็นประโยชน์ 5 คะแนน

-ความน่าสนใจ 5 คะแนน
พัฒนาความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยี ซึ่งจะทำประโยชน์อย่างมหาศาลให้แก่ กลุ่มคนหรือสังคมที่ให้การสนับสนุนการใช้ความสามารถและความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของผู้ประกอบอาชีพนี้อย่างเต็มที่
-ความทันสมัย 4 คะแนน
-การออกเเบบ/ความสวยงาม 5 คะแนน

-ความเรียบง่าย (อ่านง่าย เข้าใจง่าย) 5 คะแนน
อ่านแล้วมันได้ ข้อคิดดีๆ เยอะ สมองจะได้ไม่ฝ่อ " วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ที่รวมของข้อเท็จจริงและ
หลักการที่จะเรียนรู้ได้ด้วยการจำ มันเป็นวิธีการที่จะมองโลกและตั้งคำถาม "
สรุปคะแนน 24 คะแนน

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ชื่อ นิโคลาส โคเปอร์นิคัส ( Nicolas Copernicus )


ชื่อ นิโคลาส โคเปอร์นิคัส ( Nicolas Copernicus )

เกิดเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1479

สถานที่เกิด เมืองตูรอน ประเทศโปแลนด์

ผลงาน เป็นผู้ค้นพบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
โลกและดาวเคราะห์ต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์

ถึงแก่กรรม 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 เมืองฟรอนเบอร์ก


ประวัติโดยย่อ



นิโคลาส โคเปอร์นิคัส มีความสนใจด้านดาราศาสตร์มาก จึงเฝ้าดูและศึกษาเกี่ยวกับดาวและดวงอาทิตย์ โดยผ่านเส้นเมอริเดียนที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเอง เขาสังเกตและทดลองเป็นเวลานานจึงพบว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ ทฤษฎีของเขาขัดกับอริสโตเติลที่ว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์และดวงดาวโคจรเป็นวงกลมรอบโลก แต่เขาก็ไม่กล้าขัดแย้งคำกล่าวของอริสโตเติลเพราะถือเป็นการขัดแย้งต่อศาสนาและจะถูกลงโทษอย่างหนัก



นิโคลาส โคเปอร์นิคัสได้เขียนหนังสือ " De Revolutionibus Orbium Coelestium " ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานทางดาราศาสตร์ที่สำคัญ และต่อมากาลิเลโอก็ได้ยืนยันว่าความคิดของนิโคลาส โคเปอร์นิคัสว่าถูกต้อง

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

1. ความเรียบง่าย: จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา

2. มีความคงตัว (consistent): เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน

3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance) หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว

4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่

5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย

6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง

7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา

8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้

9. ความคมชัด (resolution) ของภาพ: เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น

10. เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม: เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

ปัจจุบันสื่อมีความหลากหลายและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น นอกจากช่องทางแบบเก่าคือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมห์แล้ว มีช่องทางใหม่ๆผ่านสื่อดิจิตอล ได้แก่ เว็บ บล็อก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (ipod) ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายจึงทะลักสู่ผู้รับเป็นจำนวนมหาศาลตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ส่งข่าวสารจึงกลายเป็นผู้กำหนดการรับรู้ข่าวสารของผู้รับไปโดยปริยาย
ตามทฤษฎีของนักคิดด้านสังคมคนสำคัญคือ มิเชล ฟูโกต์(Michel Foucault) เสนอว่า สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของเจ้าของสื่อหรือผู้ที่สามารถควบคุมสื่อไว้ในมือ อธิบายได้ว่า การใช้สื่อเผยแพร่แนวคิด อุดมคติ ความเชื่อ ให้แก่คนทั้งหลาย ตอกย้ำซ้ำเติมอยู่ตลอดเวลา จนผู้ที่รับข่าวสารเกิดความคล้อยตาม เชื่อ และทำตามผู้ที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมสื่อต้องการในที่สุด
จะเห็นได้ชัดเจนในทางการเมืองที่รัฐจะใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองขึ้น ให้คนในชาติเกิดความ มีความคิดความเชื่อเป็นหนึ่งเดียว คล้อยตามการชี้นำของรัฐ นำไปสู่การจงรักภักดีต่อรัฐ จนในที่สุดรัฐหรือรัฐบาลสามารถบงการประชาชนให้เชื่อฟังและทำตามความต้องการได้ การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลและรักษาอำนาจของตนก็ทำได้โดยง่ายดาย
ปัจจุบัน สื่อก็เป็นเครื่องมือ ในการสร้างอำนาจให้แก่ผู้ใช้สื่ออยู่เช่นเดิม เพียงแต่อำนาจที่ว่านั้น ไม่ใช่อำนาจทางการเมืองเสมอไป เพราะการเป็นเจ้าของสื่อไม่ได้จำกัดอยู่ที่รัฐเพียงเท่านั้น เอกชนก็สามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ ดังนั้น ผู้ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของตน จึงเปิดกว้างมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
เมื่อการเป็นเจ้าของสื่อเปิดกว้างขึ้น การใช้สื่อก็กว้างขวางขึ้น ผู้ที่มีสื่อในมือก็สามารถใช้สื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างแทบไม่มีข้อจำกัด เช่น
ในทางการเมือง รัฐก็ยังคงใช้สื่อภายใต้การกำกับหรือสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ ในการเผยแพร่ความ คิดอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เช่นเดิม ดังเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ จึงทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ของรัฐเป็นหลัก
ในการต่อสู้ทางการเมือง สื่อยิ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของแต่ละฝ่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ฝ่ายตนและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงกันข้าม ดังเช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี พ.ศ.2547-2549 โดยสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่รวมตัวกันในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการกระทำอันมิชอบของรัฐบาล และดำเนินการชุมนุมต่อต้านขับไล่รัฐบาลให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สื่อที่ตนครอบครองอยู่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ในมุมของตนออกสู่สาธารณชน
ในทางการค้า ปัจจุบันสื่อกลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งให้เจ้าของสินค้าใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ให้คนทั่วไปได้รับรู้ในสินค้าและบริการของตน รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือและความนิยมในสินค้า ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รูปแบบการนำเสนอได้ถูกคิดค้นขึ้นมานานาชนิด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความประทับใจให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยเหตุที่สื่อเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ทำให้ผู้คนรับรู้ เชื่อถือ คล้อยตาม และนำไปสู่การยอมรับ ดังนั้นเราจึงเห็นการขับเคี่ยวแข่งขันกันผ่านสื่อของเจ้าของสินค้าและบริการ รวมถึงในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น คู่ขัดแย้งก็ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความถูกต้องให้แก่ฝ่ายตนและทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม คำถามก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด
ความชอบธรรม ความถูกต้อง ของฝ่ายตนกล่าวอ้างผ่านสื่อนั้น แท้จริงแล้วเป็นความถูกต้องความชอบธรรมที่แท้จริงหรือไม่ และความผิด ความไม่ชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นความจริงหรือไม่ นี่ย่อมเป็นคำถามที่มีต่อทุกฝ่ายที่ใช้สื่อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล
หรือคุณภาพของสินค้าและบริการที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการโฆษณาที่มุ่งเสนอคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเพียงใด เป็นความจริงที่แท้จริงของสินค้า หรือเป็นความจริงสมมติที่ถูกสร้างขึ้นเฉพาะในโฆษณาเท่านั้น
สื่อจึงเป็นเหมือนสนามรบให้ทั้งสองฝ่ายทำสงครามกันอย่างดุเดือด สงครามข้อมูลผ่านสื่อนั้น ไม่ว่าเป็นสงครามแบบไหน ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้รับสื่อ คือเราๆท่านๆที่บริโภคข่าวสาร ผ่านช่องทางต่างๆ อันเป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการเมือง การค้า การตลาด การบริการ
ผู้รับสื่อจึงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ ก่อนที่จะเชื่อ จะเห็นด้วย และคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสินค้าตัวใดตัวหนึ่งเพราะกระบวนการตกแต่งข้อมูล บิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ ไม่ว่าจากฝ่ายใด
วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ผู้บริโภคสื่อ คือตัวเรานั้น เป็นเหยื่อ เป็นเหยื่อและเป็นเหยื่อ
จากนั้นก็คิดวิธีรักษาตัวให้รอดจากการตกเป็นเหยื่อให้ได้เป็นลำดับถัดมา
ขอให้โชคดีทุกคน.
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
- การทดสอบสื่อ
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใด
การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)

ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน

ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือ
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมา
มี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ
พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของ
เสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)
ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
ผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ